Marketplace online สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ!
จากตอนที่แล้ว เราคงได้ทราบแล้วว่าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจนั้นแบ่งออกได้ตามประเภทรอบฟันไม้หรืออายุการเจริญเติบโตที่เหมาะแก่การขาย แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ไม้โตไว ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงแนวทางการแนะนำเบื้องต้นการปลูกต้นไม้มีค่า ซึ่งแท้จริงแล้วไม้มีค่านั้นสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ แต่การวางแผนการปลูกถือเป็นการช่วยลดต้นทุนและเป็นการลดความเสี่ยงได้ เพราะการปลูกไม้มีค่านั้นต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำ 3 - 5 ปี ดังนั้นแล้วการศึกษาแนวทางการปลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะช่วยประหยัดต้นทุนและประหยัดเวลาอันก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและก่อเกิดประโยชน์ในด้านระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
ดังนั้นแล้ว การเลือกปลูกไม้มีค่าที่สอดคล้องกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยยึดตามหลักลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ สภาพดินและความชื้นซึ่งเกิดจากปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่คือการลดต้นทุนในเรื่องการใช้น้ำและทำให้ผลผลิตเติบโตได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ทาง Farmstory ได้รวบรวมรูปแบบการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเน้นหลักการบูรณาการทรัพยากรในพื้นที่แบบปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
ดังนั้นเมื่อทราบลักษณะการปลูกไม้มีค่าตามรูปแบบที่ถนัดเฉพาะตัวบุคคลแล้ว ถัดมาคือการเลือกประเภทไม้ที่ปลูก โดยยึดตามแนวลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นตัวหลัก แบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้
จากการวิเคราะห์พบว่า ตะเคียนทอง เป็นไม้ที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคและภูมิศาสตร์ที่สภาพดินมีความชื้นสูงมากหรือดินชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในที่ราบโดยเฉพาะที่ราบใกล้แหล่งน้ำ ตะเคียนทองเป็นพืชที่ต้องดูแลในระยะแรกเนื่องจากเป็นไม้ประเภทโตช้าและต้องการความชุ่มชื่น จึงควรนำมาโดนแสงแดด อาทิตย์ละ 2 ครั้งและมีการบำรุงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อโตระดับลงดินได้แล้ว ควรเตรียมสภาพดินให้พร้อมก่อนลงปลูกและลักษณะการปลูกควรปลูกแบบวนศาสตร์โดยการนำพืชเกษตรหรือพืชสมุนไพรมาปลูกควบคู่กันแบบสลับแถว โดยปลูกไม้ตะเคียนหรือไม้โตช้า 1 แถว คั่นด้วยพืชสมุนไพรหรือพืชไร่ ความยาวประมาณ 5 เมตร จุดปะสงค์เพื่อจะได้มีผลตอบแทนในด้านผลผลิตและเงินตอบแทนทั้งระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการพรวนดินไปในตัวเมื่อมีการเก็บเกี่ยวพืชในระยะสั้น
ในลำดับถัดมาคือ สัก ประดู่และยางนา ถือว่าเป็นไม้ท้องถิ่นและเป็นไม้ประเภทโตปานกลาง ดังนั้นแล้วไม้ 3 ประเภทนี้จึงควรมีการจัดระเบียบการปลูกและวางแผนอย่างดี ช่วงเหมาะแก่การปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงฝนมีกำลังปานกลาง ดินมีความชื้นที่เหมาะสมเนื่องจากเป็นไม้ประเภทเจริญเติบโตในที่ชื้นไม่มากและดินดี ลักษณะการปลูก แนววนศาสตร์ ผสมไม้ 3 ชั้นเรือนยอดคือ ให้แบ่งที่ดินเป็น 3 แถว แถวที่ 1 ปลูกไม้ประเภท สัก ประดู่และยางนา หรือไม้โตช้า ในแถวที่ 2 ปลูกไม้โตไวและในแถวที่ 3 ปลูกไม้โตเร็วตระกูลถั่ว จุดประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์แบบหลากหลาย ทั้งในด้านผลผลิตจากไม้โตไวและเป็นการบำรุงหน้าดินพร้อมกับการปลูกไม้โตไวตระกูลถั่ว และผลตอบแทนแบบผสมผสาน
และในส่วนสุดท้าย ไม้ที่โตไวที่แนะนำปลูกเพิ่มเติม คือ ไม้ประเภทต้นไผ่ ให้ปลูกผสมไว้กับไม้โตปานกลางและไม้โตช้าหรือปลูกได้ตามคันนา เนื่องจากเป็นไม้พื้นถิ่นและปลูกง่าย แค่เตรียมดินด้วยการพรวนดินและปลูกประมาณช่วงต้นหน้าฝน โดยเฉลี่ยแล้วที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ประมาณ 25 -35 ต้น แต่ควรระมัดระวังช่วงเพาะต้นกล้าเนื่องจากต้นไผ่ทนแดดแรงไม่ได้ จึงควรใช้ผ้าร่มให้แสงผ่านน้อย เมื่อตั้งต้นได้แล้วจึงเอาผ้าร่มออก ต้นไผ่ที่แนะนำปลูกคือไผ่สีสุก จากวารสารของกรมป่าไม้ คู่มือสำหรับการปลูกไม้มีค่าสำหรับประชาชน 2562 ได้กล่าวถึงการปลูกไผ่สีสุกว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดําริเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไผ่หลายครั้งที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร อาทิ "ให้ปลูกไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีลําต้นโต สามารถนํามาทําเฟอร์นิเจอร์และสร้างที่อยู่อาศัยได้ให้เพิ่มมากขึ้น" (26 มกราคม 2548 - โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย) "ความจริงน่าจะสอนราษฎรให้ปลูกต้นไม้ พวกไผ่ จะได้ยึดน้ำใต้ดิน" และพระราชเสาวนีย์ให้ "ขยายการปลูกไผ่ให้มากขึ้น" (31 มกราคม 2548 -โครงการพัฒนาบ้านกอกบ้านจูน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดน่าน) สำหรับนำมาแปรรูปเป็นไม้ในครัวเรือนหรือเอาเนื้อไม้มาแปรรูปเป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่นได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดีชนิดไม้ที่ควรส่งเสริมในการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ควรเป็นชนิดที่มี รอบตัดฟันสั้น ถึงปานกลาง หรือมีรอบตัดฟันไม่เกินกว่า 20 ปี มีความมั่นคงด้านตลาด และคุ้มค่าต่อการลงทุนที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาคือ ยางพารา ยูคาลิปตัส กระถินเทพา ซึ่งเป็นชนิดไม้ที่ตลาดมีความต้องการแน่นอน ดังนั้นแล้วการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเปรียบเสมือนการออมเงินในรูปแบบการปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยและนำไปสู่การสร้างอาชีพ มากกว่านั้นคือสามารถเป็นเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณได้ด้วย จึงเปรียบได้ว่า ปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ 3 ปีสร้างรายได้ 30 ปีร่ำรวย มั่นคั่งด้านสินทรัพย์ ยั่งยืนด้านระบบนิเวศ
อ้างอิง กรมป่าไม้คู่มือสำหรับประชาชนการปลูกไม้มีค่าทางเศรฐกิจ
โดย: เกสร 2020/07/10